< PreviousDr Frank Ruff ทีม Pioneering Next ของ Daimler AG ท�าการวิเคราะห์เทรนด์ด้านสังคมและเทคโนโลยี และพัฒนาโปร เจ็กต์นวัตกรรมต่างๆ เพื่อการขับเคลื่อนส�าหรับเมืองในอนาคต มัน เป็นงานที่น่าตื่นเต้นมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะภาพในอนาคตเริ่มชัดเจน และชวนให้ตื่นตาตื่นใจมากกว่าที่ผ่านๆ มา daimler.com/innovation/next/en ถนนที่มุ่งสู่อนาคตไม่ได้เป็นเส้นตรง หากแต่โค้งไปโค้งมา และเราไม่สามารถ พุ่งไปข้างหน้าด้วยความเร็วคงที่ได้ เราต้องยอมรับเรื่องนั้น หากเราต้องการที่ จะคาดกาณ์ถึงสภาพการอยู่อาศัยของเมืองในอนาคตได้อย่างแม่นย�า เพราะมี บางคน บางสถานที่ หรือบางประเทศ ที่เปิดรับนวัตกรรมใหม่ๆ ได้อย่างไม่เก้อ เขิน และสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว ขณะที่คน สถานที่ หรือประเทศอื่นๆ อาจต้องใช้เวลายาวนานกว่า นั่นเป็นธรรมดาและธรรมชาติของมนุษย์ เราอาศัยบรรดาเมืองใหญ่และปริมณฑลที่ก�าลังเติบโตอย่างรวดเร็ว รวมถึงเมือง ที่พัฒนาไปขั้นสูงแล้วในเยอรมนี เป็นปัจจัยส�าคัญในการคิดและคาดการณ์สิ่ง ต่างๆ เราใช้ผลลัพธ์จากงานวิจัยของเรา เพื่อเป็นสมมติฐานในการพัฒนางาน และเป็นแรงบันดาลใจในโปรเจ็กต์ต่างๆ ทั้งส�าหรับทีม Pioneering Next เอง และส�าหรับวิศวกรจากแผนกอื่นๆ ใน Daimler AG มันส�าคัญมากที่สมมติฐานเหล่านั้น ไม่เพียงแต่จะมีประโยชน์ต่ออนาคต แต่ต้อง เป็นสิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนได้ด้วย มันจ�าเป็นต้องมีผลกระทบทางอารมณ์ ด้านบวก และจะยิ่งดีถ้าสามารถกระตุ้นคนให้เกิดความต้องการที่อยู่ในอนาคตแบบ นั้น แล้วก็มาช่วยกันสร้างมัน เพื่อให้เป็นเช่นนั้น เราจึงสร้างภาพจ�าลองโลกอนาคต ปี 2038 ในแบบต่างๆ ขึ้นมา และภาพเหล่านี้นี่เอง ที่เป็นแรงบันดาลใจให้บรรดา นักออกแบบ วิศวกร และผู้จัดการด้านผลิตภัณฑ์ของเรา สร้างผลิตภัณฑ์แห่งอนาคต ขึ้นมา แล้วภาพของเมืองในอนาคตของเราเป็นแบบไหน? ศจ. ดร. Marianne Reeb เพื่อนร่วมงานของผม ได้ระบุว่ามี 4 ประเด็นที่มีความเป็นไปได้ และควรค่าแก่ การท�าให้เกิดขึ้น • คือเราต้องการเมืองที่ ‘สุขภาพดี’ นั่นหมายถึงเมืองที่เต็มไปด้วยสีเขียว และมีสายน�้าไหลอยู่ตลอดเวลา มันก็เหมือนกับที่บรรพบุรุษตลอดการ วิวัฒนาการของเราท�ามา นั่นก็คือการเลือกตั้งรกรากบนพื้นที่ที่มีแหล่งน�้า ส่วนพื้นที่สีเขียวนั้นก็ช่วยปรับปรุงคุณภาพอากาศ และยังแสดงถึงธรรมชาติ ที่ไม่ถูกท�าลาย • เมืองในอนาคตของเราจะต้องมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา การขยับเคลื่อนที่ นั้นดีต่อสุขภาพของเรา และยังเป็นมิตรต่อระบบรักษาพยาบาล เมืองจะไม่ได้ ถูกครอบครองโดยรถยนต์ หากแต่มีพื้นที่ส�าหรับจักรยานและคนเดินเท้า • พื้นที่ท�างานและพื้นที่อยู่อาศัยจะไม่แยกขาดออกจากกัน ด้วยการใช้พื้นที่แบบ ผสมผสาน ในอนาคต จะไม่มีส่วนไหนของเมืองที่เงียบสงบโดยสนิทในเวลากลาง คืน หากแต่จะมีบรรดาร้านค้า แหล่งบันเทิง หรือร้านอาหารอยู่ทั่วๆ เพื่อคอย รองรับความรื่นรมย์ของผู้อยู่อาศัย • พื้นที่เมืองจะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ถนน เลนจักรยาน หรือทางเดินเท้าก็ อาจจะรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน แม้แต่พื้นที่สาธารณะ ก็อาจจะไม่ได้ถูกก�าหนดเพื่อ ให้ใช้เพียงจุดประสงค์เดียว แต่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของผู้ อยู่อาศัย The city in harmony ดร. Reeb ใช้ภาพจ�าลองปี 2038 ของ Marienplatz ของ Stuttgart ในการ อธิบายหน้าตาของเมืองในอนาคต เธอบอกว่าหลายๆ เมืองที่เรารู้จักจะไม่ได้ เปลี่ยนแปลงไปมากนักใน 20 ปีข้างหน้า มองภาพแรก เราจะรู้สึกว่าเราเห็น อะไรที่คุ้นเคย หากแต่กลไกการขับเคลื่อนภายในที่ต่างออกไป ซึ่งเมืองใน แบบอนาคตนั้นเกิดขึ้นได้ง่ายๆ เพียงแค่เราเพิ่มเทคโนโลยีการเชื่อมต่อและ เซ็นเซอร์เข้ามาให้มากขึ้น เมื่อตอนปลายปี 2018 มีการส�ารวจว่ามีวัตถุที่มี เครือข่ายเชื่อมต่อราว 11 พันล้านวัตถุ และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ภายในเวลาสองปี และภายในปี 2038 จะเห็นผลอย่างชัดเจน ในตอนที่ถนน หนทาง อาคารบ้านเรือน คนเดินเท้า นักปั่นจักรยาน รถประจ�าทาง รถไฟ และรถบนต์ จะมีการเชื่อมต่อถึงกัน และเคลื่อนที่อย่างสอดคล้องกันราวกับ มีใครร่ายเวทมนตร์ควบคุมอยู่ เทคโนโลยีเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่จะมอบอิสรภาพ ในการออกแบบเมืองของเราให้เป็นแบบที่เราคาดคิดไว้ และไม่ใช่แค่เพียง เรื่องของการเคลื่อนที่เท่านั้นด้วย เราอยากที่จะอยู่กันแบบไหนในอนาคต? ดร. Frank Ruff ได้น�าทีม Pioneering Next ฝ่าย นวัตกรรมของ Daimler ท�าการวิจัยเรื่องนี้ ในนิตยสารฉบับนี้ Ruff และศจ. ดร. Marianne Reeb เพื่อนร่วมงานของเขาจะอธิบายให้ฟังถึงอนาคตที่เราทุกคนจะไปถึง และแม้เทคโนโลยีจะ ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว มนุษย์เราก็ยังคงจะเป็นปัจจัยที่ส�าคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในการก�าหนด หน้าตาของเมืองในอนาคตของพวกเรา 50Mercedes-BenzMercedesแผนก Pioneering Next สร้าง ภาพในอนาคตที่อยากให้เป็น 1 2 3 4 STUTTGART’S MARIENPLATZ IN 2038 Marienplatz ตั้งอยู่ใจกลาง Stuttgart หนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเยอรมนี เป็นย่านที่เต็ม ไปด้วยชีวิตชีวาและเป็นตัวอย่างที่ดีส�าหรับการพัฒนาเมืองที่เต็มไปด้วยความเคลื่อนไหว ย่านนี้เคยมีการปรับปรุงใหม่เมื่อปี 2003 และท�าให้กลายเป็นแหล่งอาศัยของชาวครีเอทีฟ ตั้งแต่นั้นมา จากเดิมที่เคยเป็นแค่แยกส�าหรับรถประจ�าทาง ตอนนี้ก็กลายเป็นแหล่งรวมร้าน อาหารและคาเฟ่ ที่ท�าให้ย่านนี้โดดเด่นไม่เหมือนใคร และการเปลี่ยนแปลงนี้ก็ท�าให้เห็น หนทางสู่อนาคตว่า แม้จะเป็นย่านใหญ่ใจกลางเมืองอย่าง Marienplatz ก็สามารถปรับ เปลี่ยนได้โดยไม่ต้องสร้างใหม่ เพียงแค่อาศัยการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ เหมือนกับที่ ศจ. ดร. Marianne Reeb แสดงให้ดู 51Prof. Dr Marianne Reeb จ�าลองสถานการณ์ใน โครงการของ Daimler AG เพื่อกระตุ้นให้เพื่อนร่วมงานของ เธอนั้นตื่นเต้นไปกับเมืองในอนาคต ค�าถามหนึ่งที่เธอมักจะได้ ยินบ่อยๆ หลังการน�าเสนอความคิดของเธอคือ เราจะท�าอะไร เพื่อให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นได้บ้าง? daimler.com/innovation/next/en เราจะอยู่อาศัยและเดินทางไปไหนมาไหนกันอย่างไรในอนาคต? ศจ. ดร. Marianne Reeb บอกว่า หนึ่งในความเป็นไปได้ คือการที่ถนนหนทาง ทางจักรยาน และทางเดินเท้า ไม่ได้ถูกแยก ขาดจากกันอีกต่อไป ในโครงการของ Pioneering Next เธอได้จ�าลองสถานการณ์ต่างๆ ที่ อาจเป็นแรงบันดาลใจให้เหล่าวิศวกรของ Daimler ในการสร้างเมืองในอนาคต Scenario 1 เราคาดการณ์ว่ารถยนต์ทั้งหมดในอนาคตจะเป็นรถยนต์ไร้คนขับ และมีการ เชื่อมต่อกับสภาวะแวดล้อม ทั้งถนนและอาคารแวดล้อม จะมีเซ็นเซอร์ติดเพื่อ ช่วยเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อม เมืองในอนาคตจะด�าเนินด้วยระบบที่คาดการณ์ และปรับด้วยได้ นั่นหมายรวมไปถึงสัญญาณไฟบนท้องถนน ที่จะบอกนักปั่น จักรยานได้ว่าเส้นทางไหนที่ปลอดภัยที่สุด และแม้แต่รถยนต์ไร้คนขับก็สามารถ ที่จะสื่อสารกับผู้ใช้ถนนคนอื่นๆ ได้ด้วยสัญญาณไฟ นอกจากนั้น ยังเป็นไปได้ที่ ระบบขนส่งต่างๆ นั้นจะใช้เส้นทางร่วมกัน ทางเท้า ทางจักรยาน และถนน ส�าหรับรถยนต์อาจไม่จ�าเป็นต้องแยกขาดจากกันอีกต่อไป และท�าให้เป็นไปได้ที่ จะออกแบบพื้นที่เมืองให้มีความยืดหยุ่นกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ พวกเราเองก็จะสนิทใจกับการใช้รถยนต์ไร้คนขับ แล้วเราก็เลือกได้ว่าในระหว่าง โดยสารแบบไม่ต้องขับขี่นั้น เราจะท�างานไปด้วย หรือดูหนังไปด้วย หรือนอน ไปดี และไม่ว่าจะเป็นพาหนะส่วนตัวหรือของส่วนรวม ยานยนต์ที่เลือกได้ตาม ความต้องการ ก็จะเข้ามามีบทบาทกับชีวิตเรามากขึ้น และเราก็จะเลือกวิธีการ โดยสารแบบที่เราต้องการได้ Scenario 2 มีทางรถไฟลอยฟ้าใน Stuttgart เป็นวิธีการเดินทางที่เก่าแก่และได้รับความนิยม มาก แม้จะไม่ใช่เส้นทางขนาดยาวและครอบคลุมพื้นที่เมือง แต่ก็เป็นส่วนหนึ่ง ของวิถีชีวิตคนเมืองนี้ไปแล้ว ซึ่งมันก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งของเมืองในอนาคต ได้ แต่จะต้องทั่วถึงกว่านี้ และจะไม่มีรอยต่อระหว่างรูปแบบการเดินทางเกิดขึ้น ในเมือง ซึ่งเรื่องนี้เป็นปัจจัยที่ส�าคัญมาก แม้ว่าถนนส�าหรับรถยนต์จะยังเป็น หัวใจส�าคัญของการเคลื่อนที่ส�าหรับเมืองในอนาคตก็ตาม เราไม่เชื่อว่าระบบขนส่งจะย้ายไปทางอากาศมากขึ้น เพราะในความคิดของพวก เราแล้ว การย้ายการจราจรขึ้นไปบนอากาศนั้นไม่ได้ช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิต ให้ดีขึ้นมาก แต่รถไฟลอยฟ้าอาจจะเป็นข้อยกเว้นส�าหรับทฤษฎีนี้ ในภาพจะเห็นว่ามีรถยนต์ที่มีลักษณะที่แตกต่างออกไป เราเรียกสิ่งนั้นว่า ‘พอดส์’ (pods) ซึ่งจะมีความสามารถในการขับเคลื่อนในรูปแบบต่างๆ มากมาย เนื่องจากมีปัญญาประดิษฐ์เป็นตัวขับเคลื่อน ทีนี้เราจะใช้เวลาท�าอะไรในระหว่าง การเคลื่อนที่จาก A ไป B ก็แล้วแต่พวกเราเลย Scenario 3 เราต่างต้องการเมืองสีเขียวที่มีชีวิตชีวา ซึ่งเราสามารถที่จะไปไหนมาไหนได้ อย่างอิสระ ภาพที่แสดงเป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เป็นไปได้ เด็กๆ ก�าลังปีนป่าย เครื่องเล่น ผู้คนก�าลังเล่นกีฬาบนสนามหญ้าสีเขียว แล้วก็มีคนไถสกูตเตอร์ ผ่านไป ดูดีๆ คุณจะเห็นหุ่นยนต์ตัวเล็กๆ ที่ท�าหน้าที่ให้บริการต่างๆ แตกต่างกันตาม ค�าสั่ง แต่พวกมันก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของเมืองได้อย่างไม่เคอะเขิน ขณะที่มี เด็กที่ก�าลังซื้อไอศกรีม และเด็กอีกคนก�าลังท�าความสะอาดสนามเด็กเล่นอยู่ ก็ จะเห็นหุ่นยนต์ที่ก�าลังไปส่งผ้าซักแห้งเคลื่อนผ่านไป ในทางปฏิบัติแล้ว หุ่นยนต์ เหล่านี้จะไม่ถูกปรับเปลี่ยนให้หน้าตาคล้ายคนแบบในภาพยนตร์ แต่ก็สามารถ ให้บริการอย่างชาญฉลาด เราเริ่มเห็นสิ่งเหล่านี้มากขึ้นเรื่อยๆ ในชีวิตจริง ตอน นี้ใน Copenhagen ก็มีแอพฯ ที่นักปั่นจักรยานสามารถใช้ค�านวณได้แล้วว่าเส้น ทางไหนที่ควรไปมากที่สุด หลังจากที่การจราจรของจักรยานกลายเป็นปัญหา ใหญ่ของเมือง ทั้ง Copenhagen และ Amsterdam Scenario 4 หนึ่งในงานใหญ่ของการสร้างเมืองในอนาคต คือการใช้พื้นที่ที่เหลืออยู่น้อยแล้ว ให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด ในภาพจะเห็นแผงขายกรอบรูป รถบัสที่เปิดให้จองตาม ความต้องการ และเรายังคงอ่านหนังสือพิมพ์กันอยู่ในอนาคต พวกเราเชื่อว่า โลกดิจิทัลจะท�าให้คนโหยหาประสบการณ์ที่จับต้องได้กันมากขึ้น อย่างเช่นการก ลับมาของแผ่นเสียง และความเป็นปัจเจกบุคคลที่เราก�าลังเผชิญอยู่ตอนนี้ ก็จะ ยิ่งชัดเจนมากขึ้น แม้ว่าเทคโนโลยีจะพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว แต่พฤติกรรมคนเราไม่ได้เปลี่ยนได้ ในความเร็วระดับเดียวกัน เพราะฉะนั้น เทคโนโลยีจึงต้องปรับให้เข้ากับความ ต้องการของคน ไม่ใช่คนที่ต้องปรับเข้าหาเทคโนโลยี เพราะแม้การเปลี่ยนแปลง จะเกิดขึ้นเร็วเพียงใด มนุษย์ก็จะยังคงเป็นปัจจัยที่ส�าคัญที่สุดในการขับเคลื่อน เมืองในอนาคตอยู่ดี และในอนาคต การปรับตัวของเทคโนโลยีให้เข้ากับความ ต้องการของคนจะยิ่งชัดเจนมากกว่าทุกวันนี้เสียด้วยซ�้า 52Mercedes-BenzMercedesScenario 1 รถยนต์อัตโนมัติวิ่งใน เมือง ถนนและทางเดินจะ มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ในแง่ของการใช้งาน Scenario 2 ระบบขนส่งต่างๆ จะเชื่อมต่อ เข้าด้วยกันอย่างไร้รอยต่อ Scenario 3 Marienplatz 2038: พื้นที่สีเขียวและโอกาสใน การขยับเคลื่อนไหว Scenario 4 แผงหนังสือพิมพ์และของ ประดับต่างๆ เพื่อเอาใจ คนในโลกดิจิทัลที่โหย หาสิ่งของที่จับต้องได้Popper เคยเขียนไว้ว่า อนาคตจะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของเราทุกคนร่วมกัน ลองคิดภาพล่วงหน้าด้วยกันก็ได้ เริ่มจากการขับเคลื่อนของเมืองก่อน เมืองใน ศตวรรษนี้จะมีระบบขนส่งอันหลากหลายซึ่งก�าลังอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนา หนึ่งในนั้นที่ส�าคัญมากๆ คือรถยนต์ไร้คนขับ ซึ่งเราคาดการณ์กันว่ามันจะช่วย เพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน ลดปัญหารถติด และท�าให้เราได้ใช้เวลาระหว่าง เดินทางท�าอย่างอื่นที่เราต้องการ แต่การจะมีเมืองที่ใช้รถยนต์ไร้คนขับได้นั้น ก็ ต้องอาศัยความรอบคอบเป็นอย่างมาก ยังคงมีปัญหาเรื่องความปลอดภัย อย่างการมีไวรัสคอมพิวเตอร์ จึงจ�าเป็นที่ รัฐบาลและภาคธุรกิจต่างๆ ต้องออกแบบเครื่องมือหรือวิธีการในการตอบโต้ และจัดการทันทีที่เกิดปัญหา และถึงแม้ว่าจะมีวิธีแก้ปัญหาได้ และเราสามารถ ปกป้องระบบขนส่งจากการโจมตีทางไซเบอร์ได้ ก็จะมีปัญหาอื่นๆ ตามมา อีก เช่นว่าถ้าคนหันมาใช้รถยนต์ไร้คนขับกันมากขึ้นจนสามารถลดต้นทุนใน การผลิตได้ คนก็อาจจะเลิกใช้ระบบขนส่งสาธารณะ จ�านวนรถยนต์ไร้คนขับ บนท้องถนนก็จะเพิ่มมากขึ้น สุดท้ายก็จะเจอปัญหารถติดอยู่ดี สุดท้ายรถยนต์ ไร้คนขับก็จะสร้างปัญหาที่ตัวเองถูกสร้างมาเพื่อแก้เสียเอง ยังมีความท้าทาย อีกมากในการสร้างระบบขนส่งอัตโนมัติส�าหรับอนาคต ส�าหรับผม ประเด็น หลักๆ คือเราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าไอเดียดีๆ ที่เราคิดกันขึ้นมานั้นจะไม่มี ผลกระทบทางด้านลบ ความรับผิดชอบส่วนใหญ่ในเรื่องเหล่านี้อยู่ในมือของบรรดานักการเมือง ขณะ เดียวกัน ผู้ผลิตยานยนต์อย่าง Daimler AG ก็จะมีส่วนส�าคัญในการออกแบบ เมืองในอนาคตด้วย แต่สุดท้ายแล้ว ผลลัพธ์ก็จะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจเลือกของ ผู้คนอยู่ดี และเพื่อไปให้ถึงจุดนั้น เราต้องยอมรับความผิดพลาด พยายามแก้ไข ล้มเหลว และเริ่มใหม่อีกครั้ง และก็จ�าเป็นที่จะต้องเปิดช่องว่างให้ผู้คนมีส่วน ร่วมในการตัดสินใจในการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ ขึ้นมา กระบวนการแบบนี้ เท่านั้นที่จะท�าให้นวัตกรรมนั้นแข็งแรงและ ‘senseable’ จากความสมดุลของ ความรู้สึกและเหตุผล ท้ายที่สุดแล้ว เป้าหมายสุดท้ายคือการกระตุ้นให้ผู้คน สร้างและอยู่ร่วมกันในเมืองที่เราทุกคนรักและต้องการมัน เมื่อเราพูดถึงเมืองในอนาคต เรามักจะพุ่งเป้าไปที่เทคโนโลยีและความสามารถ ของมันมากจนเกินไป ตามแนวคิด ‘senseable city’ ซึ่งผมก�าลังศึกษาอยู่ที่ MIT ใน Boston และเป็นงานทั้งหมดของผมนั้น ผมขอย�้าว่ามิติด้านมนุษย์นั้นก็มี ความส�าคัญไม่แพ้กัน ค�าว่า ‘senseable’ นั้นหมายถึงเทคโนโลยีดิจิทัลที่กระท�า การหรือมีการตอบสนองอย่างว่องไวและอ่อนไหว โดยมีความเห็นอกเห็นใจแบบ มนุษย์เป็นปัจจัยหลัก มันอาจจะฟังดูนามธรรมไปเสียหน่อย แต่การเชื่อมต่อ ต่างๆ และเซ็นเซอร์ เป็นเครื่องยืนยันว่าเทคโนโลยีก�าลังดูดซึมชีวิตประจ�าวัน ของเราเข้าไปมากขึ้นเรื่อยๆ และนั่นรวมถึงชีวิตประจ�าวันของเมืองด้วย นับ ตั้งแต่สิ่งที่เกิดขึ้นในตู้เย็น ไปจนถึงรถยนต์บนท้องถนน ต่อไปคงแทบจะไม่มี อุปกรณ์ชิ้นไหนเลยที่ไม่ได้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต senseable city จะผูกรวมประโยชน์ทางสังคมต่างๆ จากการเชื่อมต่อนี้ แล้ว สามารถน�าไปต่อยอดได้ การท�างานร่วมกันของเซ็นเซอร์ ปัญญาประดิษฐ์ และ เครือข่ายที่ครอบคลุม จะท�าให้ทุกความต้องการของพลเมืองได้รับการรับรู้ และ มีการตอบสนองราวในวิถีของมนุษย์ที่แทบจะไร้จุดบกพร่อง แน่นอนว่าตอนนี้ โลกยังไม่ได้ไปไกลถึงขนาดนั้น แต่เราก็ก�าลังมุ่งไปสู่เมืองที่มีการเชื่อมต่ออย่าง สมบูรณ์ ซึ่งจะเป็นโอกาสให้เราปูทางไปสู่อนาคตได้ การคาดการณ์ที่ใกล้เคียงความจริงส�าหรับอนาคตนั้นยากมาก เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 1900 Boston Globe เคยเขียนคาดการณ์เกี่ยวกับปี 2000 เอาไว้ ผู้ เขียนนึกภาพว่าจะมีทางเท้าที่ขยับได้และอากาศยานส�าหรับการเดินทางในเมือง แต่ตอนนั้นไม่มีใครคิดถึงอินเทอร์เน็ตหรือ car sharing เลย นักปรัชญา Karl Carlo Ratti หัวหน้า Senseable City Lab ของ Massa- chusetts Institute of Technology (MIT) ที่รับหน้าที่ออกแบบ เทคโนโลยีที่มีพฤติกรรมเหมือนมนุษย์ ในฐานะพาร์ตเนอร์ Carlo Ratti Associati (CRA) วิศวกรและสถาปนิก ได้พัฒนาโปรเจ็กต์ซึ่ง น�าไปจัดแสดงที่งาน Biennale ใน Venice และที่ MoMA ใน New York ด้วย www.carloratti.com อะไรที่จะท�าให้เมืองในอนาคตนั้นน่าอยู่? Carlo Ratti นักออกแบบและสถาปนิกเชื่อในปฏิสัมพันธ์ตาม ธรรมชาติของผู้คน เทคโนโลยี และสิ่งก่อสร้าง ซึ่งสตูดิโอออกแบบของเขาใน Turin และในฐานะที่เป็น อาจารย์ของ Massachusetts Institute of Technology (MIT) เขาก�าลังหาจุดที่เชื่อมโยงเหล่านั้นอยู่ และนี่คือสิ่งที่เขาได้เขียนบอก me Magazine เกี่ยวกับความท้าทายของเรื่องนี้ และจริงๆ แล้ว โลกดิจิทัล ไม่ได้น�ามาเพียงโอกาสแบบที่หลายคนเข้าใจ แต่ยังมีความเสี่ยงิืที่ตามมาด้วย Live the InterContinental ® life. HUA HIN CHICAGO WASHINGTON NEW YORK BORDEAUX LONDON PARIS MARSEILLE DAVOS DUBAI KOH SAMUI SINGAPORE EXPERIENCE ANOTHER LEVEL OF LUXURY The Charms of Hua Hin, Thailand’s classic royal retreat, greet you in every experience at InterContinental Hua Hin Resort, where you can enjoy one of the world’s most beautiful beachside locations in this historic town along with new heights of luxury providing a wide range of benefits throughout the day and evening, personalised services and genuine Thai hospitality. For more information or to make a reservation, please call +66 (0) 32 616999 ichh.rsvn@ihg.com or visit intercontinental.com/huahin 54Mercedes-BenzMercedesLive the InterContinental ® life. HUA HIN CHICAGO WASHINGTON NEW YORK BORDEAUX LONDON PARIS MARSEILLE DAVOS DUBAI KOH SAMUI SINGAPORE EXPERIENCE ANOTHER LEVEL OF LUXURY The Charms of Hua Hin, Thailand’s classic royal retreat, greet you in every experience at InterContinental Hua Hin Resort, where you can enjoy one of the world’s most beautiful beachside locations in this historic town along with new heights of luxury providing a wide range of benefits throughout the day and evening, personalised services and genuine Thai hospitality. For more information or to make a reservation, please call +66 (0) 32 616999 ichh.rsvn@ihg.com or visit intercontinental.com/huahinMAYBACH Mercedes-Maybach S-Class ใหม่สร้างความ ประทับใจครั้งแรกได้อย่างน่าพิศวง แต่รายละเอียด เล็กๆ ต่างหาก ที่เป็นสิ่งที่ท�าให้มีเอกลักษณ์อย่าง แท้จริง อย่างเช่นกระจังหน้าใหม่ที่มีเส้นสายที่ได้ รับแรงบันดาลใจจากชุดสูทลายทางของสุภาพบุรุษ การตกแต่งภายในของ Mercedes-Maybach รุ่น ใหม่ล่าสุดนั้นก็น่าประทับใจไม่แพ้กัน หนังแท้สั่ง พิเศษย�้าถึงความหรูหรา เช่นเดียวกับการเย็บด้วย ด้ายสีทองแดง ทองค�า หรือแพลตตินัม ซึ่งสามารถ สั่งซื้อเป็นตัวเลือกพิเศษได้ ส�าหรับ Maybach S-Class นั้น การปรับแต่งให้ตรงตามใจนั้นไร้เรียก ได้ว่าไร้ขีดจ�ากัด ความกว้างขวางด้านหลังก็น่าประทับใจเช่นเดียว กับสไตล์การขับขี่ ที่ให้ความรู้สึกเบาและเงียบสงบ ราวกับว่ารถก�าลังร่อนอยู่ในอากาศ ระบบเสียงยัง ช่วยยังปรับปรุงการปฏิสัมพันธ์ระหว่างรถยนต์กับ ผู้ขับ และรวมอยู่ในชุดมาตรฐานส�าหรับลูกค้าส่วน ใหญ่ด้วย Elegance and style เรื่อง: MARCO ARELLANO GOMES ภาพ: STEFAN ARMBRUSTER 56Mercedes-BenzMercedesระบบ infotainment ที่สามารถ ควบคุมได้จากระยะไกล ที่นั่งแสนสบาย และมุมมองของ การตกแต่งภายในที่หรูหรา งานฝีมือคุณภาพสูงผสมผสาน เข้ากับเทคโนโลยีล่าสุด Maybach S 560 หน้าคาสิโนซาลซ์บูร์ก Model Mercedes-Benz Maybach S 560 อัตราการเผาผลาญเชื้อเพลิง (l/100 km) ในเมือง: 14.4–13.51 นอกเมือง: 8.1–7.61 รวม: 10.1-10.11 อัตราการปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ (g/ km): 231–230 สี: Magnetite black เกียร์: Automatic กระบอกสูบ: V 8 ขนาดเครื่องยนต์ (cc): 3,982 ก�าลังของเครื่องยนต์ (kW in rpm): 345 ที่ 5,250– 5,5001 ความเร็วสูงสุด: 250 km/h อัตราเร่ง 0–100 km/h: 4.9 s ระดับ : D *ค่าบางค่าอาจมีการ เปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับชนิด ของล้อและยาง10 EMERGING TECHNOLOGY เขียนโดย: HAPPYNIZM ปฏิเสธไม่ได้ว่าโลกก�าลังหมุนไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว และเทคโนโลยีเองก็ก�าลังขยับในความเร็วแบบก้าวกระโดดเช่น กัน จนหลายคนแทบจะอัพเดทตัวเองไม่ทันแล้ว World Economic Forum จึงได้รวบรวมเองเทคโนโลยีที่จะ เปลี่ยนโลก หรือมีผลกระทบอย่างชัดเจนต่อเศรษฐกิจและสังคมในอนาคตมาให้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของความ หวัง ในการแก้ปัญหาต่างๆ ที่เราจะต้องเผชิญในอนาคต 58Mercedes-BenzMercedesBioplastics for a circular economy : ปัจจุบันนี้ พลาสติกก�าลังเป็นประเด็นด้านสิ่ง แวดล้อม ที่หลายองค์กรและหลายประเทศทั่วโลก ก�าลังให้ความส�าคัญและหาทางแก้ปัญหาอย่าง ยั่งยื่น เพราะจากข้อมูลแล้ว มีเพียง 15% ของ พลาสติกทั้งหมดบนโลกเท่านั้น ที่ถูกน�ามา รีไซเคิล ส่วนที่เหลือก็ถูกเผาหรือทิ้งอยู่ตามที่ทิ้ง ขยะ พลาสติกชีวภาพจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ หลายคนพยายามใช้ แต่ก็ยังติดปัญหาว่าไม่แข็ง แรงพอส�าหรับการใช้งาน ล่าสุด จึงมีการพัฒนา องค์ความรู้เพื่อแก้ปัญหานี้ ด้วยการใช้เซลลูโลส หรือลิกนิน (กากใยจากของเสียทางการเกษตร) มาช่วยเพิ่มความแข็งแรงของวัสดุ ท�าให้พลาสติก ชีวภาพน่าจะเป็นทางออกส�าคัญส�าหรับอนาคต ของเรา Social robots : หุ่นยนต์ในปัจจุบันนี้พัฒนาไป ถึงขึ้นที่สามารถรับรู้เสียง สีหน้า และอารมณ์ของ คนได้ สามารถแปลค�าพูดและท่าทางเพื่อตีความ หมายได้ รวมถึงรู้จักที่จะสบตาคนให้เหมือนคน พูดคุยกับมนุษย์อีกคนจริงๆ หุ่นยนต์เหล่านี้จะ กลายมาเป็นผู้ช่วยและเพื่อนในชีวิตประจ�าวันของ เราในการท�ากิจกรรมต่างๆ หรือแม้แต่เป็นเพื่อน เรายามเหงาได้ Metalenses : เลนส์ที่เราใช้กันอยู่ในสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ทุกวันนี้ ยังถูกจ�ากัดเรื่องความสามารถในการใช้ งาน จากเทคโนโลยีการตัดและท�าโค้งเลนส์แบบ เดิมๆ แต่ความก้าวหน้าทางฟิสิกส์ ได้ช่วยสร้าง สิ่งที่เรียกว่า ‘เมทัลเลนส์’ ขึ้นมา เป็นเลนส์ที่มี ขนาดเล็ก บาง และเบากว่าเดิม ท�าให้ในอนาคต อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ อาจมีขนาดเล็กลง โดยที่มีความสามารถเพิ่มขึ้น Disordered proteins as drug targets : โรค ร้ายต่างๆ รวมถึงโรคมะเร็ง เกิดจากโปรตีนที่ เรียกว่า ‘Intrinsically disordered proteins’ (IDPs) โปรตีนชนิดนี้ไม่เหมือนโปรตีนปกติ ตรง ที่ไม่มีโครงสร้างที่ชัดเจน ท�าให้มันสามารถ เปลี่ยนแปลงรูปร่างได้ ก่อนที่จะท�าการรักษาได้ ส�าเร็จ ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์ได้หาทางยับยั้งการ เปลี่ยนรูปร่างของโปรตีนนี้ได้นานพอที่จะท�าการ รักษาให้ส�าเร็จได้แล้ว จึงมีความหวังว่าในอนาคต โรคร้ายต่างๆ อาจมีทางรักษาหาย Smarter fertilizers : ปุ๋ยในปัจจุบัน แม้จะผ่าน การพัฒนาปรับปรุงด้านสูตรเคมีเพื่อจุดประสงค์ ต่างๆ แต่ก็ยังมีส่วนผสมของแอมโมเนีย ยูเรีย และโปแตสเซียมที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ แต่ ปุ๋ยรุ่นใหม่นี้ใช้ไนโตรเจนและสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก เป็นองค์ประกอบหลัก ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มากกว่า รวมถึงท�าให้พืชดูดซับสารอาหารได้ดี กว่าด้วย 59June 2019MercedesNext >