< Previous70Mercedes-BenzMercedesอาจจะฟังดูเหมือนความคิดของโลกยูโทเปีย เสียหน่อย แต่ Volocopter พาหนะบินได้ แบบอัตโนมัตินั้นเป็นเรื่องจริงแล้ว และขณะ นี้ก�าลังอยู่ระหว่างการทดลองใช้ในดูไบ ใน บทสัมภาษณ์นี้ Alexander Zosel จะมาเล่า ให้ฟังถึงแท็กซี่บินได้ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงาน ไฟฟ้า ซึ่งทีมของเขาช่วยกันพัฒนาขึ้นมา Ready for takeoff 71July 2018Mercedes72Mercedes-BenzMercedesUnder control: Volocopter สามารถบินเองโดยอัตโนมัติก็ได้ หรือให้นักบินบังคับด้วยจอยสติ๊ก ก็ได้ การคาดการณ์ว่ายานพาหนะที่บินได้จะ เปลี่ยนแปลงระบบการจราจรและการเดินทาง ของเราไปตลอดกาล ในขณะที่อีกหลายคนซึ่ง อาจจะไม่ถึงกับเชื่อมั่นกับแนวคิดนี้มากนัก ก็ ยังมองว่าอย่างน้อยมันก็เป็นคอนเซ็ปต์การเดินทางที่น่าตื่นเต้น คงไม่มีใครที่จะพูดคุยกับเราในเรื่องนี้ได้ดีไปกว่า Alexander Zosel และทีมของเขาที่ก่อตั้งบริษัท Volocopter GmbH ขึ้น ในเมือง Bruchsal ของเยอรมนี ความคิดที่ว่าจะสร้างแท็กซี่บินได้อัตโนมัตินี่เกิดขึ้นได้อย่างไร บอกตามตรงว่าจริงๆ แล้วมันเป็นความคิดของ Stefan Wolf เพื่อนของผม ซึ่งก็เป็นพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจของผมอยู่ด้วยใน ตอนนี้ ลูกชายของเขาอยากได้มัลติคอปเตอร์ (Multicopter) Stefan ก็เลยคิดไปถึงการสร้างมัลติคอปเตอร์หรือโดรนใน ขนาดที่คนเข้าไปนั่งได้ เขาเอาไอเดียนี้มาคุยกับผม เพราะผม เคยท�างานเป็นครูสอนพาราไกลดิ้ง (Paragliding) มาก่อน แล้วเขาก็คงมองว่าผมพอจะท�าให้มันเกิดเป็นธุรกิจขึ้นได้ด้วย เส้นทางอาชีพของคุณดูน่าสนใจมากเลย คุณจบวิศวกรรมด้านการ ก่อสร้างมา คุณเคยเล่นในลีค German Basketball Bundesliga แถมยังเคยเป็นนักกีฬาสโนว์บอร์ดระดับโลก แล้วยังเคยเปิดคลับด้วย คุณเคยมีประสบการณ์ด้านการบินหรือเคยท�างานในอุตสาหกรรม การบินมาก่อนบ้างหรือเปล่า อย่างที่ผมบอกครับ ผมเคยเป็นครูสอนพาราไกลดิ้ง (Paragliding) มาก่อน (หัวเราะ) ผมว่าผมเป็นคนที่มีความสนใจหลายอย่าง แล้ว ก็มีจินตนาการมากมาย เพราะฉะนั้นผมเห็นภาพในหัวตั้งแต่ตอน นั้นเลยว่าหน้าตาของแท็กซี่บินได้นั้นจะเป็นยังไง จากวิสัยทัศน์ตรงนั้น Volocopter ก็เกิดขึ้น คุณใช้เวลานานไหมใน การพัฒนามันขึ้นมา หลังจากเราผุดไอเดียนั้นขึ้นมา เราก็สามารถทดลองบินครั้ง แรกได้ในหนึ่งปีต่อมา ซึ่งก็คือปี 2011 พวกเราเป็นทีมแรกใน โลกที่สามารถส่งยานพาหนะขึ้นในแนวตั้งได้โดยใช้พลังงาน ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว นั่นท�าให้เราได้รับการบันทึกลงสถิติ โลกใน Guinness Book ด้วยนะ ตอนนั้น Volocopter ไม่ได้ดูล�้าสมัยเท่าตอนนี้.. ใช่แล้ว ตอนนั้นเราตั้งใจพัฒนาด้านเทคนิคเป็นส�าคัญ ผม ยอมรับนะว่าดีไซน์ตั้งต้นของเรานี่ดูเหมือนกับกระสุนปืนบิน ได้ที่หลุดออกมาจากปืนของ Baron M ü nchhausen เลยแหละ เราไม่มีทางชนะรางวัลในเวทีออกแบบได้ด้วยอะไรหน้าตา แบบนั้นแน่นอน ใครเป็นคนออกแบบโปรโตไทป์แรกเหรอ จริงๆ มันคือการรวมกันของหลายๆ ไอเดีย ต้องยกความดี ความชอบให้ทีมพัฒนาเทคโนโลยีของเราที่แม้จะมีคนไม่มาก แต่ก็ท�าให้มันบินได้ในที่สุด คุณช่วยอธิบายการท�างานของ Volocopter แบบย่อๆ ได้ไหม ระบบแบตเตอรี่ที่เป็นอิสระจากกัน 9 ระบบ ใบพัด 18 ตัว และระบบประมวลผลขนาดจิ๋ว ช่วยให้ Volocopter ขึ้นบิน ได้อย่างราบรื่น เราออกแบบให้ใบพัดคู่ตรงข้ามกันขับเคลื่อน ด้วยแบตเตอรี่หนึ่งตัว ท�าให้ในกรณีที่แบตเตอรี่พังหนึ่งตัว ก็ ยังมีใบพัดที่ท�างานได้อยู่ อืม นั่นท�าให้มันไม่เอียงไปข้างใดข้างหนึ่งด้วย เพราะว่าเป็นการ จับคู่ใบพัดที่อยู่ตรงข้ามกัน แล้ว Volocopter แตกต่างจาก เฮลิคอปเตอร์ทั่วไปอย่างไร Volocopter นี้ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว และกระบวนการสร้างมันขึ้นมาก็ไม่มีอะไรใกล้เคียงกับ เฮลิคอปเตอร์เลย มอเตอร์ทั้ง 18 ตัวนั้นเชื่อมต่อกันด้วยไฟเบอร์ กลาส ถ้าตัวใดตัวหนึ่งเกิดขัดข้อง ก็จะไม่มีผลอะไรกับตัวอื่น เลย Volocopter ยังส่งเสียงดังรบกวนน้อยกว่าด้วย จากการ ทดลองวัดระดับเสียง เฮลิคอปเตอร์ที่อยู่ห่างออกไป 500 เมตร ยังเสียงดังกว่า Volocopter ที่อยู่ห่างออกไป 75 เมตรเสียอีก คุณว่าผู้คนจะเชื่อใจเทคโนโลยีนี้ไหม เป็นปกติที่จะมีความกลัวเกิดขึ้นเมื่อเราแนะน�าให้คนรู้จักกับ เทคโนโลยีและสิ่งประดิษฐ์อะไรใหม่ๆ แต่ Volocopter ของ เราได้ผ่านการทดสอบจากองค์การด้านอากาศยานระดับชาติ มาแล้ว ทั้งในเยอรมนีและดูไบ รวมถึงเราสามารถพิสูจน์ให้ เห็นได้เลยว่า แม้ใบพัดและแบตเตอรี่หลายตัวจะหยุดท�างาน Volocopter ก็ยังคงบินได้อยู่ นั่นเป็นเหตุผลว่าท�าไมคุณถึงสามารถท�าการทดสอบการใช้จริงได้ ในดูไบอยู่ตอนนี้ใช่ไหม ใช่แล้ว ดูไบเป็นที่แรกที่เราได้บริการลูกค้า เมืองนี้มีความตั้งใจ อยู่แล้วว่า 1 ใน 4 ของขนส่งสาธารณะของเมืองจะต้องเป็นระบบ ขับขี่อัตโนมัติภายในปี 2030 ดังนั้น เราก็เลยท�าข้อตกลงกับ Roads and Transport Authority (RTA) ในการทดลองบินแท็กซี่ บินได้ของเรา การทดลองบินครั้งแรกของเราในใจกลางเมือง จึงเริ่มต้นขึ้นเมื่อตอนฤดูใบไม้ร่วงของปี 2017 แต่การให้บริการช่วงแรกๆ ก็ยังมีนักบินนั่งไปด้วยใช่ไหม ใช่ครับ เพราะนี่ถือเป็นระยะเริ่มต้น จึงต้องอาศัยการสร้าง Not a man for castles in the sky: จากเรื่องของเด็กชายที่ฝัน อยากจะมีเฮลิคอปเตอร์ของ ตัวเอง Alexander Zosel วิศวกรวัย 52 ปี ก็ได้สร้าง Volocopter เฮลิคอปเตอร์ ในฝันที่เป็นจริงขึ้นมา อ่านเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนา Volocopter เพิ่มเติมได้ที่ mbmag.me/volocopter บทสัมภาษณ์ : INA BRZOSKA PHOTOS VOLOCOPTER (2), NIKOLAY KAZAKOV มี 73July 2018MercedesIna Brzoska เจอกับ Alexander Zosel ผู้ก่อตั้ง Volocopter ที่ DLD Confer- ence ในมิวนิค หลังจบบทสนทนา เธอก็คิด ภาพตัวเองนั่งแท็กซี่บินได้ออกในทันที A relaxing mode of travel: ห้องโดยสารมีพื้นที่ส�าหรับผู้ โดยสารสองคน From utopian vision to reality: Volocopter ต้องผ่าน การทดสอบการบินเป็นร้อยๆ ครั้ง ก่อนที่จะให้บริการขนส่งกับ ผู้คนได้ Quiet: ห่างออกไป 75 เมตร Volocopter แทบจะไม่ส่งเสียงดัง ให้ได้ยินเลย ความเชื่อใจให้กับเทคโนโลยีนี้ก่อน แต่ในระยะยาว เราตั้งใจให้ เป็นพาหนะไร้คนขับ ซึ่งจริงๆ แล้วต้องบอกว่ามันปลอดภัยไม่น้อย ไปกว่ากันเลย Volocopter ถูกออกแบบมาให้บินได้ในระยะไกลแค่ไหน เราตั้งใจให้ Volocopter เริ่มให้บริการการบินในอีก 2-3 ปีข้าง หน้า โดยระยะเริ่มต้นสามารถเดินทางได้ในระยะ 10-15 กิโลเมตร แบตเตอรี่จะใช้งานได้ประมาณ 30 นาที โดยการเปลี่ยนแบตเตอรี่ ใช้เวลาประมาณ 3-4 นาที ซึ่งนั่นเป็นช่วงเวลาที่ผู้โดยสารลงและ ขึ้นจากยานพาหนะพอดี ท�าให้ไม่ต้องเสียเวลาในการให้บริการ หรือการเดินทางมากนัก แต่นั่นแปลว่า Volocopter ก็ยังต้องใช้แรงงานคนในการช่วยชาร์จแบตใช่ ไหม อย่างน้อยก็ใช่ในช่วงเริ่มต้น แต่เราก�าลังพยายามพัฒนาให้งานนี้ ท�าโดยหุ่นยนต์ได้ เราตั้งใจที่จะพัฒนาสถานีจอดที่มีระบบดูแล รักษา Volocopter ได้ในหลายๆ ด้านโดยอัตโนมัติ นับตั้งแต่บิน เข้าจอด ก็จะมีการตรวจสอบและชาร์จไฟ แล้วก็เป็นจุดปล่อยตัว ออกไปอีกครั้ง แทนที่จะต้องมีทั้งป้ายจอดและสถานีชาร์จหรือปั๊ม น�้ามัน เมืองก็มีแค่สถานีแบบนี้ที่สมบูรณ์ในที่เดียว ราคาของ Volocopter อยู่ที่เท่าไหร่ ตัวต้นแบบที่คุณเห็นอยู่นี่ใช้ต้นทุนหลายล้านยูโรในการสร้างขึ้นมา แต่แน่นอนว่าในการผลิตจ�านวนมาก ก็จะช่วยลดต้นทุนลงไปได้ ผมรู้ว่าตอนนี้ Daimler AG มีหุ้นอยู่ 11% เปอร์เซ็นต์ในบริษัทของคุณ แต่ ด้วยยอดเงินลงทุนมากมายขนาดนั้น คุณไปหาทุนจากที่ไหนมาสร้าง ตอนตั้งบริษัท เราเริ่มจากเงินลงทุนของเราเองก่อน จากนั้นก็ออก แคมเปญระดมทุน มาถึงตอนนี้เรามีพาร์ทเนอร์จ�านวนมาก อย่าง Intel และ Daimler AG ที่คุณบอก บรรดานักอนุรักษ์นกมีความเห็นอย่างไรบ้างกับการเดินทางทางอากาศ ในเมือง พวกเขาก็มีปฏิกิริยาหลายแบบนะ บางคนก็บอกว่าดีที่จะได้นับที่ อยู่อาศัยของนกได้จากบนฟ้า แต่ก็มีหลายคนเหมือนกันที่เป็นห่วง ว่าจะมีปัญหาการจราจรติดขัดบนฟ้าเหมือนบนถนน แล้วคุณมีวิธีรับมือกับค�าวิจารณ์อย่างไร Volocopter ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อความบันเทิงอยู่แล้วนี่ ลอง คิดดูสิว่า นอกจากแท็กซี่ที่วิ่งบนถนนแล้ว เรายังมีทางเลือกในการ ใช้บริการได้อีกเป็นร้อย หรืออาจจะพันคันบนท้องฟ้า คนน่าจะขับ รถยนต์เองน้อยลง เราแค่อยากแก้ปัญหาการจราจรบนท้องถนน และมอบทางเลือกใหม่ในการเดินทางให้กับคนเมืองเท่านั้นเอง 74Mercedes-BenzMercedesเหนือกว่าจินตนาการรูปแบบไหนๆ เพราะเทคโนโลยีการพิมพ์แบบสามมิติ (3D Printing) ได้ขยายขอบเขตความคิดและมุมมองในการออกแบบยานยนต์ไปให้ กว้างไกลกว่าที่ผ่านมา ต่อไปในอนาคต เราอาจจะได้ขับรถที่เกิดจากเทคโนโลยีนี้ก็ได้ ป็นไปได้ไหมที่รถยนต์ซึ่งผลิตโดยการพิมพ์แบบ สามมิติ (3D Printing) จะกลายเป็นรถยนต์ที่ขับ จริงได้ หรือนักออกแบบของเราจะขยาย จินตนาการให้ไปไกลกว่านี้อีกสักหน่อยได้อย่างไร Dr Thomas Behr หัวหน้าฝ่าย Hardware & Digital Technologies ของ Daimler AG Group Research บอกว่านั่นเป็นเรื่องความพร้อมของเทคโนโลยี ซึ่งหมาย ถึงเทคโนโลยีการพิมพ์แบบสามมิติซึ่งก�าลังเป็นที่พูด ถึงกันอยู่ในช่วงเวลานี้ เมื่อช่วงต้นปี 1980s Charles Hull วิศวกรชาวอเมริกัน คิดค้นขั้นตอนที่เรียกว่า Stereo-Lithography (การใช้รัง สีอัลตร้าไวโอเล็ตท�าให้น�้าเรซินแข็งตัว) ขึ้นมา นั่นนับว่า เป็นจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีการพิมพ์แบบสามมิติที่ใช้ กันในปัจจุบันนี้ และทีมวิจัยของ Daimler AG ก็ได้ พยายามพัฒนาเทคโนโลยีนี้มาตั้งแต่ช่วงต้นของปี 1990s จนถึงตอนนี้ เทคโนโลยีนี้ได้รับการน�าไปใช้ในรูปแบบ ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นรูปโดยใช้เลเซอร์ ความเข้มสูง (Laser Sintering) ระบบการฉายภาพแบบ DLP (Digital Light Processing) และ การพิมพ์สามมิติ ด้วยโลหะ (Electron Beam Melting) ซึ่งท�าให้บรรดา ผู้ผลิตสามารถท�างานกับวัสดุได้หลากหลายประเภท การพิมพ์แบบสามมิติยังน�าไปใช้ในอุตสาหกรรมการ บินและอวกาศ ในเทคโนโลยีทางการแพทย์ รวมถึงการ ท�างานศิลปะ แฟชั่น และงานเครื่องประดับอีกด้วย แม้แต่พิซซ่าพิมพ์สามมิติชิ้นแรกของโลกก็มีให้เห็นกัน มาแล้ว ในวงการผู้ผลิตยานยนต์เอง ก็พยายามที่จะใช้ การพิมพ์แบบสามมิติมาหลายปีแล้วเช่นกัน Dr Behr ในฐานะที่คุณเป็นผู้น�าทีมวิจัยการพิมพ์แบบ สามมิติของ Daimler AG Group Research & MBC Development คุณคิดว่าอะไรที่น่าสนใจมากที่สุด เกี่ยวกับเทคโนโลยีนี้ การพิมพ์แบบสามมิติสามารถมอบอิสระในการ ออกแบบให้เราได้อย่างมากมาย ทั้งการออกแบบ ภายในและภายนอกยานยนต์ ผมคิดว่ามันช่วยเรื่อง การพัฒนาส่วนประกอบส�าหรับฟังก์ชั่นอันหลากหลาย รวมถึงการแก้ปัญหาด้านดีไซน์ที่เราไม่เคยสามารถ ทดลองผลิตได้มาก่อน ซึ่งนั่นท�าให้เราไม่สามารถ ทดสอบผลของสิ่งที่เราคิดด้วย แต่เทคโนโลยีนี้ที่ช่วย ให้สิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้น จะสร้างโอกาสอีกมากมายให้ กับเรา โดยเฉพาะการผลิตรถยนต์ในซีรีส์เอ็กซ์คลูซีฟ ทั้งหลาย รวมทั้งการพัฒนาในวงการแข่งรถด้วย เมอร์เซเดส-เบนซ์เริ่มใช้เทคโนโลยีนี้ในด้านไหนแล้วบ้าง เราพยายามศึกษาเทคโนโลยีและการใช้งานในการ ผลิตมาประมาณ 25 ปีแล้ว และได้พัฒนาออกมาเป็น โปรโตไทป์เพื่อการใช้งานบ้างแล้วด้วย ช่วยยกตัวอย่างได้ไหมว่ามีส่วนไหนของรถบ้างที่ ทดลองพิมพ์ออกมาแล้ว ช่วงสองปีที่ผ่านมา ส่วนประกอบที่เราทดลองพิมพ์มี หลากหลาย นับตั้งแต่กรอบส�าหรับจอแสดงผลบนกระจก หน้ารถ รางสัมภาระส�าหรับรถบัส ปลอกหุ้มที่ฉีดน�้า ไป จนถึงท่ออากาศส�าหรับส่วนโดยสารของคนขับ ทั้งหมดนั่นเป็นส่วนที่ส�าคัญนะ แต่.. แต่มันยังไม่ชวนให้ลูกค้าตื่นเต้นใช่ไหมล่ะ อย่างไร ก็ตาม เมอร์เซเดส-เบนซ์ก็เป็นผู้น�าในการใช้การพิมพ์ สามมิติกับส่วนประกอบที่ใช้ในรถบรรทุกและรถบัส นะ แล้วเราก็ท�าการพิมพ์ส่วนประกอบพิเศษหลาย ส่วนให้กับลูกค้าของเราที่ต้องการมาปีกว่าแล้ว การ ตอบสนองความต้องการแบบเฉพาะ (Customisation) เป็นเรื่องส�าคัญส�าหรับลูกค้าของเรา รวมถึงส�าหรับ อนาคตของวงการยานยนต์ด้วย แล้วการพิมพ์สามมิติมีบทบาทกับรถยนต์คลาสสิก บ้างไหม มีแน่นอน อะไหล่ในสต็อกที่เราจะใช้กับบรรดา รถยนต์เก่าแก่นั้นมีจ�ากัด และนั่นก็เป็นปัญหาส�าหรับ เราหลายต่อหลายครั้งเหมือนกันในช่วงหลายปีที่ผ่าน มา ถ้าไม่ใช่เพราะเทคโนโลยีนี้ อะไหล่บางชิ้นก็คง ไม่มีอยู่แล้ว และนั่นก็อาจท�าให้รถบางรุ่นหายไปจาก ท้องถนนตลอดไป LAYER BY LAYER บทสัมภาษณ์ : JÖRG HEUER ภาพประกอบ : CHRISTOPH KLEINSTÜCK เ 76Mercedes-BenzMercedesนั่นหมายความว่าเมื่อคุณตั้งโปรแกรมให้เครื่องพิมพ์ ผลิตชิ้นส่วนใดชิ้นส่วนหนึ่งแล้ว คุณก็สามารถผลิต ชิ้นส่วนนั้นเมื่อไหร่ก็ได้ที่คุณต้องการใช่ไหม ถูกแล้ว สิ่งที่เราก�าลังพูดถึงกันอยู่นี่มันก็เหมือนคลัง สินค้าในโลกดิจิทัลนั่นแหละ แล้วมันก็ช่วยให้เรา ประหยัดพื้นที่ เราไม่จ�าเป็นต้องมีสต็อกของที่ผลิต ออกมาเผื่อใช้ รวมถึงว่าไม่ต้องมีปริมาณขั้นต�่าในการ ผลิตด้วย พูดง่ายๆ ก็คือเราสามารถผลิตตามปริมาณ ที่ต้องการได้ไม่ว่าจะเล็กน้อยแค่ไหน ซึ่งเป็นโมเดลที่ มีความยืดหยุ่น ดีต่อลูกค้า รวมถึงประหยัดต้นทุน ของเราอีกด้วย จะพูดว่านี่เป็นวิธีการผลิตในปริมาณพอดีและใน ความเร็วสูงได้ไหม นั่นเป็นสิ่งที่เราตั้งใจท�าอยู่ตอนนี้เลยแหละ เราตั้งใจ ที่จะให้การพิมพ์อะไหล่แบบสามมิติมีประสิทธิภาพ เทียบเท่าการผลิตชิ้นส่วนด้วยวิธีดั้งเดิมที่ท�ามา แล้ว เราก็ท�างานอย่างใกล้ชิดกับฝ่ายการผลิตและฝ่ายที่ ดูแลเรื่องอะไหล่ของบริษัท เพื่อต้องการให้มั่นใจว่า สิ่งที่เราพิมพ์ออกมานั้นมีคุณภาพตรงตามมาตรฐาน นอกจากนี้ เราก็พยายามที่จะพัฒนาวัสดุของเราอยู่ เสมอๆ เพื่อให้ลูกค้าได้สิ่งที่ดีที่สุด ตอนนี้เมอร์เซเดส-เบนซ์ใช้วัสดุอะไรในการพิมพ์แบบ สามมิติอยู่บ้าง เราเริ่มผลิตชิ้นส่วนที่เป็นพลาสติกมาตั้งแต่ปี 2016 ส่วน ชิ้นส่วนที่เป็นโลหะ ซึ่งใช้ในรถบรรทุกและ Unimog ซึ่ง ต้องอาศัยความทนทานที่มากกว่านั้น เราเริ่มส่งมอบ ให้ลูกค้าเมื่อปี 2017 ที่ผ่านมา และตอนนี้เราก็ยังอยู่ใน ขั้นของการพัฒนาการใช้วัสดุสู่ขั้นต่อไป มีอะไรที่ลูกค้าร้องขอเป็นพิเศษบ้างไหม ที่เก็บธนบัตรส�าหรับรถบัสสาธารณะน่าจะเป็น ตัวอย่างที่ดีส�าหรับสิ่งที่ลูกค้าต้องการเป็นพิเศษ เรา พิมพ์ชิ้นส่วนนั้นออกมามากกว่า 1,000 ชิ้นแล้ว เพื่อ ตอบสนองความต้องการของลูกค้า การพิมพ์แบบสามมิติให้ผลตอบรับที่ดียังไงบ้าง มันเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะกับการผลิตในปริมาณไม่ มาก ซึ่งเหมาะส�าหรับโลกทุกวันนี้ แต่ในอนาคตก็มี โอกาสเปลี่ยนแปลงได้อีก คุณคิดว่ารถยนต์พิมพ์สามมิติจะวิ่งบนถนนได้จริงเมื่อไหร่ นั่นเป็นงานที่ท้าทายมากเลยนะ พวกเรามุ่งมั่นค้นคว้า และติดตามผลของการพัฒนาเทคโนโลยีนี้อย่างใกล้ ชิดมาตลอด และเมอร์เซเดส-เบนซ์ก็ตั้งใจที่จะเป็นผู้ บุกเบิกการน�าเทคโนโลยีนี้ไปสู่ท้องถนน แน่นอนล่ะ ว่าเราจะใช้ชิ้นส่วนและยานพาหนะที่สร้างจากการ พิมพ์สามมิติจริงๆ ทันทีที่เทคโนโลยีนี้มีความพร้อม อย่างสมบูรณ์แบบ เราจะเป็นผู้น�าในการเริ่มต้น นวัตกรรมนี้ ผมมั่นใจว่าเมอร์เซเดส-เบนซ์จะเป็นผู้น�า ของการเปลี่ยนแปลงได้อย่างแน่นอน ลองดูการใช้เทคโนโลยีการ พิมพ์สามมิติกับ EvoBus ของ Daimler ได้ที่: mbmag.me/3d-print การพิมพ์สามมิติท�างานอย่างไร และอะไรคือ วัสดุที่ใช้มากที่สุด การพิมพ์สามมิติเป็นขั้นตอนการสร้างวัตถุบาง อย่างด้วยการเรียงวัสดุอย่างพลาสติก เซรามิก หรือเหล็กเป็นชั้นๆ ตามแบบ มีชื่อเรียกทาง เทคนิคอีกอย่าง (นอกจาก 3D Printing ที่เรา ได้ยินกัน) นั่นก็คือ ‘Additive Manufacturing’ หรือการพิมพ์โดยใช้สารเติมแต่งหรือใช้วัสดุ บางอย่าง โดยในวงการอุตสาหกรรมจะใช้ เทคนิคที่เรียกว่า ‘Selective Laser Melting’ คือการใช้แสงเลเซอร์เชื่อมผงโลหะเพื่อขึ้นรูปชิ้น งาน ซึ่งแตกต่างจากเทคนิคที่ใช้ในเครื่องพิมพ์ สามมิติทั่วไป ที่ใช้เทคโนโลยีแบบ Fused Filament Fabrication ระบบเหล่านี้ค่อนข้างซับ ซ้อนและมีต้นทุนสูง แต่ก็เป็นเทคโนโลยีเพียง หนึ่งเดียวที่สามารถท�าให้ทดลองผลิตชิ้นส่วนที่ ละเอียดและแตกต่างได้ AT A GLANCE PHOTO MAKS RICHTER Dr Thomas Behr หัวหน้าฝ่าย Hardware & Digital Technologies ของ Daimler AG Group Research & MBC Development ใน Ulm และ Sindelfingen 77July 2018MercedesBangkok International Motor Show 2018 เมอร์เซเดส-เบนซ์ ส่งรถยนต์หรู กลุ่มดรีมคาร์บุกงานมอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 39 เรื่อง/ภาพ เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) จ�ากัด 78 Mercedes-BenzMercedesเมอร์เซเดส-เบนซ์ตอกย�้าความเป็นอันดับหนึ่งวงการรถยนต์หรูเมืองไทย ส่งรถยนต์ 4 รุ่น ล่าสุด ทั้งในกลุ่มดรีมคาร์ อย่าง The new CLS 300 d AMG Premium สุดยอดยนตรกรรม สปอร์ตรุ่นใหม่ล่าสุด ที่มาพร้อมเทคโนโลยีที่ล�้าสมัยและดีไซน์อันงดงาม The E 200 Coup é AMG Dynamic สปอร์ตคูเป้ 2 ประตู 4 ที่นั่ง ที่มอบความกว้างขวางและสะดวก สบายสูงสุดแก่ผู้โดยสาร GLC 250 4MATIC Coup é ยนตรกรรมที่ผสานความอเนกประสงค์ ของรถยนต์สไตล์เอสยูวีและความสปอร์ตโฉบเฉี่ยวของรถยนต์คูเป้เข้าไว้ด้วยกัน รวมถึง ยนตรกรรมหรูอัจฉริยะ The S 350 d Exclusive และ The S 350 d AMG Premium รุ่น ประกอบในประเทศ ที่สุดแห่งความสง่า เติมเต็มประสบการณ์แห่งการขับขี่ส�าหรับผู้น�า ให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น พร้อมรถยนต์คันพิเศษ GLA Millennials’ Voices Edition ผลงานการเพ้นท์ภาพของศิลปินกราฟิตี้ชื่อดัง ‘อเล็กซ์ เฟส’ รวมทั้งยนตรกรรมหรูรวม กว่า 28 คัน ครบครันในทุกเซ็กเมนต์ มาจัดแสดงภายในงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์ โชว์ ครั้งที่ 39 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม ถึง 8 เมษายน 2561 ณ ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ อิมแพค เมืองทองธานี โดยภายในงาน เมอร์เซเดส-เบนซ์ได้ท�าการออกแบบบูธที่มีการแบ่งโซนของรถยนต์ทั้งใน กลุ่มและแบรนด์ต่างๆ เป็นจ�านวน 5 โซนอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์เมอร์เซเดส- เบนซ์ในกลุ่ม Compact Car, Contemporary Luxury Sedans & Dream Car, SUV และ แบรนด์เทคโนโลยีกับรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด EQ - Electric Intelligence by Mercedes- Benz รวมถึงแบรนด์รถยนต์สปอร์ตสมรรถนะสูง อย่าง Mercedes-AMG มาให้กลุ่ม ลูกค้าได้เห็นถึงจุดเด่นและความแตกต่างของรถยนต์ในแต่ละกลุ่มได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการน�าเสนอรถยนต์ในกลุ่ม Dream Car ส�าหรับกลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบความ หรูหราสไตล์สปอร์ต ซึ่งจากการตอบรับอย่างดีเยี่ยมในรถยนต์กลุ่มนี้ในปีที่ผ่านมา ส่งผล ให้ทางเมอร์เซเดส-เบนซ์มียอดขายเฉพาะกลุ่ม Dream Car เพิ่มขึ้นกว่า 13% เมื่อเทียบ กับปีก่อนหน้า รวมถึงยังได้สานต่อโปรเจ็กต์ #GrowupLikeThis ที่เกิดจากการน�าอินไซท์ ของกลุ่มคนมิลเลนเนียลที่มีความเชื่อมั่นในศักยภาพตนเองสูงโดยเฉพาะความเป็นผู้ใหญ่ ชอบแสดงความคิดและทัศนคติในแบบของตัวเอง (Self-express) ผ่านการน�ารถยนต์ GLA Millennials’ Voices Edition มาจัดแสดงให้บุคคลทั่วไปได้ชมภายในงานอีกด้วย 79 July 2018MercedesNext >